บำเหน็จบำนาญปกติ (1)
ข้าพเจ้าได้เขียนบทความเกี่ยวกับบำเหน็จบำนาญไปแล้วหลายเรื่อง
ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องของผู้ที่เกษียณไปแล้ว ซึ่งบำเหน็จบำนาญมี 4 ประเภท คือ บำเหน็จบำนาญปกติ บำนาญพิเศษ
เงินบำเหน็จดำรงชีพ และเงินบำเหน็จตกทอด ในบทความก่อนหน้านี้ข้าพเจ้าได้เขียนถึงการขอรับเงินบำเหน็จดำรงชีพ
บำเหน็จตกทอด
ไปแล้ว รวมถึงบำเหน็จค้ำประกัน ในบทความนี้จะเขียนถึงการขอรับบำเหน็จบำนาญปกติสำหรับผู้ที่
จะเกษียณอายุราชการ
จะได้ศึกษาไว้ก่อนที่จะใช้ชีวิตบำนาญ ซึ่งจะมี 3 บทความให้ท่านลองศึกษาดู
กฏหมายที่เกี่ยวข้องกับบำเหน็จบำนาญ มีดังนี้
*
พระราชบัญญัติบําเหน็จบํานาญข้าาราชการ พ.ศ. 2494
*
พระราชบัญญัติกองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการ พ.ศ.2539
สิทธิในการรับบำเหน็จบำนาญ
ก่อนอื่นเรามารู้กันก่อนว่าบำเหน็จ บำนาญ หมายถึง
บำเหน็จ หมายถึง เงินตอบแทนความชอบที่ได้รับราชการมา ซึ่งจ่ายเป็นเงินก้อนครั้งเดียว
บำนาญ หมายถึง เงินตอบแทนความชอบที่ได้รับราชการมา ซึ่งจ่ายเป็นรายเดือน
แล้วใครเป็นผู้ที่จะมีสิทธิได้รับ
* เป็นข้าราชการตามกฏหมาย
* รับเงินเดือนจากงบประมาณรายจ่ายประเภทบุคลากร
* เข้าเหตุใดเหตุหนึ่งใน 4 เหตุ ดังนี้
1.เหตุทดแทน (มาตรา 11)
- ทางราชการสั่งให้ออกจากราชการ
ยุบ / เลิกตำแหน่ง / ผลของรัฐธรรมนูญ /
ทหารออกจากกองหนุนเบี้ยหวัด
2.เหตุทุพพลภาพ (มาตรา 12)
- ป่วยเจ็บทุพพลภาพ
- แพทย์ที่ทางราชการเห็นว่าไม่สามารถรับราชการในตำแหน่งหน้าที่ต่อไปได้
3.เหตุสูงอายุ (มาตรา 13)
- อายุ 50 ปีขึ้นไป กรณีเกษียณอายุราชการ
4.เหตุรับราชการนาน (มาตรา 14)
- มีเวลาราชการตั้งแต่ 25 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป
* ส่วนบำเหน็จ (มาตรา 17)
ติดตามตารางเปรียบเทียบสิทธิในการรับราชการของแต่ละเหตุ
และการคิดเงินเดือนบำนาญ ในบทความที่ 2 และ 3 ได้เลยนะคะ
ขอบคุณข้อมูลดีดี จาก กรมบัญชีกลาง
2. บำเหน็จบำนาญ (ตอน 2)
สิทธิในการรับบำเหน็จบำนาญ เมื่ออกจากราชการในกรณีต่าง ๆ
เหตุออกจากราชการ
|
อายุราชการ
|
สิทธิรับบำเหน็จ
บำนาญ |
กรณีมิได้เป็นสมาชิก กบข.
|
กรณีเป็นสมาชิก กบข.จะได้รับ 2 ส่วน
|
|
ได้รับเงินจาก กระทรวงการคลัง
|
ได้รับเงิน 2 ส่วน
จาก
|
||||
กบข.
|
กระทรวงการคลัง
|
||||
ลาออก
ให้ออก
ปลดออก
|
ไม่ถึง 10 ปี
|
-
|
-
|
สะสม + สมทบ + ผลประโยชน์
|
-
|
10 ปีขึ้นไป แต่ไม่ถึง 25 ปี
|
บำเหน็จ
|
บำเหน็จ
|
สะสม + สมทบ + ผลประโยชน์
|
บำเหน็จ
|
|
25 ปีขึ้นไป
|
เลือกบำนาญ
|
บำนาญ
|
ประเดิม(ถ้ามี) + ชดเชย
+ สะสม + สมทบ + ผลประโยชน์ |
บำนาญ *
|
|
เลือกบำเหน็จ
|
บำเหน็จ
|
สะสม+สมทบ+ผลประโยชน์
|
บำเหน็จ
|
||
เกษียณ
เหตุสูงอายุ
(อายุ 50 ปีขึ้นไป) เหตุทุพพลภาพ เหตุทดแทน |
ไม่ถึง 1 ปี
|
-
|
-
|
สะสม+สมทบ+ผลประโยชน์
|
-
|
1 ปีขึ้นไป แต่ไม่ถึง 10 ปี
|
บำเหน็จ
|
บำเหน็จ
|
สะสม+สมทบ+ผลประโยชน์
|
บำเหน็จ
|
|
10ปี ขึ้นไป
|
เลือกบำนาญ
|
บำนาญ
|
ประเดิม(ถ้ามี) + ชดเชย
+ สะสม + สมทบ + ผลประโยชน์ |
บำนาญ *
|
|
เลือกบำเหน็จ
|
บำเหน็จ
|
สะสม + สมทบ + ผลประโยชน์
|
บำเหน็จ
|
||
เสียชีวิต(ปกติ)
|
ไม่ถึง 1 ปี
|
-
|
-
|
สะสม + สมทบ + ผลประโยชน
|
-
|
1 ปีขึ้นไป
|
บำเหน็จตกทอด
|
บำเหน็จตกทอด
|
สะสม + สมทบ + ผลประโยชน์
|
บำเหน็จตกทอด
(เงินเดือนเดือนสุดท้าย x เวลาราชการ) |
|
เสียชีวิตเพราะความผิดร้ายแรง
|
-
|
-
|
สะสม + สมทบ + ผลประโยชน
|
-
|
|
เสีตระหว่างรับ บำนาญยชีวิ
|
-
|
บำเหน็จตกทอด
(30 เท่าบำนาญรายเดือน)
เงินช่วยพิเศษ
(3 เท่าบำนาญรายเดือน) |
-
|
บำเหน็จตกทอด
(30 เท่าบำนาญรายเดือน) เงินช่วยพิเศษ (3 เท่าบำนาญรายเดือน) |
|
ไล่ออก
|
-
|
-
|
สะสม + สมทบ + ผลประโยชน์
|
-
|
|
โอนไปหน่วยงานของรัฐที่ไม่ใช่ประเภทข้าราชการ
ตาม พ.ร.บ. กบข. |
-
|
-
|
สะสม + สมทบ + ผลประโยชน์
|
-
|
หมายเหตุ *
|
|
1. .
|
สมาชิก กบข.จะได้รับเงินบำนาญจากต้นสังกัดเดิม
หลังจากที่พ้นสภาพแล้วและเลือกบำนาญเท่านั้น
|
2..
|
ในกรณีที่สมาชิกเสียชีวิตระหว่างรับบำนาญ
ทายาทของสมาชิกจะได้รับเงิน 2 ส่วนจากรัฐ คือ
|
2.1 เงินบำเหน็จตกทอด ในอัตรา 30 เท่าของเงินบำนาญรายเดือน
และ
|
|
2.2 เงินช่วยพิเศษ ในอัตรา 3 เท่าของเงินบำนาญรายเดือน
|
เวลาราชการคำนวณสำหรับบำเหน็จบำนาญ
* เวลาปกติ
- วันเริ่มรับราชการ
ถึงวันสุดท้ายที่ได้รับเงินเดือน
* เวลาทวีคูณ
-
ทำหน้าที่ทหารตามที่กระทรวงกลาโหมกำหนด
- ปฏิบัติหน้าที่ในเขตประกาศกฏอัยการศึก
* การตัดเวลาราชการ
- เวลาที่ไม่ได้รับเงินเดือน
- เวลาในระหว่างประกาศกฏอัยการศึก
การนับเวลาตาม พรบ.กองทุนฯ
(กบข.) (มาตรา 66)
*
การนับเวลาราชการเพื่อให้เกิดสิทธิ
- ให้นับจำนวนปี เศษของปีถ้าถึงครึ่งปีให้นับเป็นหนึ่งปี
* การนับเวลาเพื่อคำนวณ
- ให้นับจำนวนปีรวมทั้งเศษของปีด้วย
- ให้นับสิบสองเดือนเป็นหนึ่งปี
- ให้นับสามสิบวันเป็นหนึ่งเดือน
วิธีคำนวณบำเหน็จบำนาญปกติ
พรบ. 2494
* บำเหน็จ = เงินเดือนเดือนสุดท้าย คูณ เวลาราชการ
* บำนาญ = เงินเดือนเดือนสุดท้าย คูณ เวลาราชการ หารด้วย 50
(ไม่เกินเงินเดือนเดือนสุดท้าย)
พรบ.กองทุนฯ (กบข.)
* บำเหน็จ = เงินเดือนเดือนสุดท้าย
คูณ เวลาราชการ
* บำนาญ = เงินเดือนเฉลี่ย
60 เดือนสุดท้าย คูณ เวลาราชการ หารด้วย 50
(ไม่เกิน
70% ของเงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย)
สิทธิประโยชน์ของสมาชิก กบข.
1) บำเหน็จ หรือ บำนาญ
2) เงินสะสม
(ร้อยละ
3 - 15)
หักจากเงินเดือนก่อนหักภาษี ไม่รวมเงินเพิ่มทุกประเภท)
3) เงินสมทบ
ร้อยละ 3 (รัฐสมทบ)
4) เงินประเดิม
ร้อยละ
2 (โดยประมาณ)
5) เงินชดเชย
ร้อยละ
2
6) ผลประโยชน์ของ
* เงินสะสม
* เงินสมทบ
* เงินประเดิม
* เงินชดเชย
ขอขอบคุณ ข้อมูลดีดีจาก กรมบัญชีกลาง