บำเหน็จดำรงชีพ
มีข้าราชการบำนาญ หลายท่านสงสัยว่าเคยได้รับเงินบำเหน็จดำรงชีพ
ไปแล้วหรือยัง บางท่านก็สงสัยว่าได้รับเงินดังกล่าวไปหมดแล้วไหม และอีก หลาย ๆ คนยังไม่รู้เลยว่าเงินบำเหน็จดำรงชีพ คืออะไร
ข้าราชการบำนาญมีสิทธิได้รับทุกคนไหม แล้วถ้าไม่มาขอรับเงินนี้จะไปไหน ข้าพเจ้าเคยเขียนถึงเงินบำเหน็จตกทอดไปในบทความก่อนหน้านี้ ครั้งนี้ข้าพเจ้าจะนำความรู้จากกรมบัญชีกลาง มาบอกเล่าให้ท่านที่สนใจได้ทราบ
ในเรื่องของเงินบำเหน็จดำรงชีพ
ประเภทของบำเหน็จบำนาญ 4 ประเภท
·
บำเหน็จบำนาญปกติ
· บำนาญพิเศษ
· บำเหน็จตกทอด
· บำเหน็จดำรงชีพ
บำเหน็จดำรงชีพ คือ เงินบำเหน็จตกทอดจำนวน
15 เท่าของบำนาญรายเดือน แต่ไม่เกิน จำนวนเงิน 200,000.-
บาท จ่ายให้กับผู้รับบำนาญในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ โดยได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ และเมื่ออายุครบ 65
ปีบริบูรณ์ เพิ่มฐานการคำนวณจากไม่เกิน 200,000.-บาท
เป็นไม่เกิน 400,000.-บาท
บำเหน็จดำรงชีพ จ่ายในอัตรา
· ไม่เกิน 15 เท่าของบำนาญรายเดือนที่ได้รับ
· อัตราและวิธีการตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
กรณีได้รับทั้งบำนาญปกติและบำนาญพิเศษเพราะเหตุทุพพลภาพให้นำมารวมกันคิดเป็นบำนาญรายเดือน
กฎกระทรวงกำหนดอัตราและวิธีการรับบำเหน็จดำรงชีพ พ.ศ.2546 และฉบับที่ 2 พ.ศ.2551
· ขอรับได้ 15 เท่าของบำนาญรายเดือน แต่ไม่เกิน 2 แสนบาท
· อายุ 65 ปีบริบูรณ์ ขอรับในส่วนที่เกิน 2 แสนบาท ได้อีกไม่เกิน 4 แสนบาท
· เงินบำนาญที่นำมาคำนวณไม่รวม เงิน ช.ค.บ. / ช.ร.บ.
การขอรับบำเหน็จดำรงชีพ
· ขอรับได้พร้อมกับการขอรับบำนาญ หรือ
· ขอรับได้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม ถึงวันที่ 31
ธันวาคม ของทุกปี
· กรณีอายุ 65 ปีบริบูรณ์ ขอรับได้ตั้งแต่วันที่มีอายุครบ 65
ปีบริบูรณ์เป็นต้นไป
· กรณีต้องหาว่ากระทำความผิดวินัยหรือความผิดอาญา ก่อนออกจากราชการ
จะขอรับได้เมื่อกรณีหรือคดีถึงที่สุด และมีสิทธิรับบำนาญ
หลักฐานการขอรับเงินบำเหน็จดำรงชีพ
ผู้รับบำนาญที่ยังไม่ได้แสดงเจตนาขอรับเงินบำเหน็จดำรงชีพ ถ้ามีความประสงค์จะขอรับให้ยื่นหลักฐานต่อส่วนราชการต้นสังกัด กรมบัญชีกลางจะจ่ายเงินบำเหน็จดำรงชีพโดยวิธีโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากของผู้รับบำนาญโดยตรง
1. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
2. สำเนาทะเบียนบ้าน
3. สำเนาบัญชีเงินฝากธนาคาร ประเภทออมทรัพย์ หรือสะสมทรัพย์
(หน้าที่มีชื่อบัญชีและเลขที่บัญชีเงินฝาก)
จากข้อคำถามหลาย ๆ คำถาม ข้าพเจ้าขอสรุปท้ายบทความ ดังนี้
1. กรณีเงินบำเหน็จดำรงชีพที่เคยได้รับไปแล้ว
ไม่ถึง 2 แสนบาท นั่นแสดงว่าท่านได้รับไปเต็มสิทธิ 15
เท่าของเงินบำนาญแล้ว เมื่ออายุครบ 65 ปีบริบูรณ์
จะไม่มีสิทธิได้รับอีก
2. กรณีผู้รับบำนาญขอกลับรับเงินเดือนตามพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
พ.ศ.2494 และได้รับเงินเดือนเพิ่มขึ้น
สามารถแสดงเจตนาขอรับเงินบำเหน็จดำรงชีพเพิ่มได้ตามกฎกระทรวง
3. บำเหน็จตกทอดจ่ายให้ทายาท บำเหน็จดำรงชีพจ่ายให้ผู้มีสิทธิ
4. ผู้รับบำนาญจะขอรับบำเหน็จดำรงชีพหรือไม่ก็ได้
5. ท่านจะขอรับบำนาญ และบำเหน็จดำรงชีพ
พร้อมกันก็ได้
6. ท่านจะขอรับบำนาญก่อน
และตัดสินใจขอรับบำเหน็จดำรงชีพภายหลังก็ได้
7. ผู้รับบำนาญสามารถตรวจสอบการจ่ายบำเหน็จดำรงชีพได้ด้วยตนเอง
หรือ เข้า google พิมพ์ ตรวจสอบการจ่ายบำเหน็จดำรงชีพ
กรอกข้อมูลของผู้รับบำนาญ
ขอขอบพระคุณข้อมูลดี ๆ จากกรมบัญชีกลาง และเว็ปไซต์
www.fis.ru.ac.th/km/images/km_pdf/finkm-22-01/p3-2.pdf
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
* พระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ.2494
.* พระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ.2539
การขอรับเงินช่วยพิเศษ
กรณีข้าราชการ
ผู้รับบำนาญ
ลูกจ้างประจำ ลูกจ้างถึงแก่ความตาย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น