หนังสือแสดงเจตนาผู้รับเงินช่วยพิเศษ
ท่านที่เป็นข้าราชการ ผู้รับบำนาญ หรือลูกจ้างท่านจำเป็นไหมว่าจะต้องเขียนหนังสือแสดงเจตนาระบุตัวผู้รับเงินช่วยพิเศษกรณีข้าราชการถึงแก่ความตาย
ท่านจำเป็นต้องเขียนมาก ๆ
ถ้าท่านไม่มีทายาทตามกฏหมาย (พ่อ แม่ คู่สมรส บุตร)
สิทธิการได้รับเงินช่วยพิเศษ
1. กรณีข้าราชการถึงแก่ความตายให้จ่ายเงินช่วยพิเศษ
3 เท่าของเงินเดือนเต็มเดือน
2. กรณีผู้รับบำนาญปกติหรือบำนาญพิเศษทุพพลภาพ ให้จ่ายเงินช่วยพิเศษ
3 เท่าของบำนาญรวมเงิน ชคบ. สำหรับผู้รับบำนาญพิเศษในฐานะทายาท
ผู้อุปการะหรือผู้อยู่ในอุปการะ จะไม่มีสิทธิได้รับเงินช่วยพิเศษดังกล่าว
3. กรณีลูกจ้างประจำ
ลูกจ้างชั่วคราว ถึงแก่ความตาย ให้จ่ายเงินช่วยพิเศษ 3
เท่าในอัตราปกติในเดือนที่ถึงแก่ความตาย
ผู้มีสิทธิได้รับเงินช่วยพิเศษ
เงินช่วยพิเศษกรณีบุคคลข้างต้นเสียชีวิต
ให้จ่ายตามลำดับดังนี้
1. จ่ายให้แก่บุคคลที่ข้าราชการ
ผู้รับบำนาญ ลูกจ้างประจำ ลูกจ้างชั่วคราว
ระบุแสดงเจตนาให้เป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินช่วยพิเศษที่ได้ยื่นไว้ต่อส่วนราชการตามแบบที่กระทรวงการคลังกำหนด
2. กรณีที่ข้าราชการ ผู้รับบำนาญ ลูกจ้างประจำ ลูกจ้างชั่วคราว
ไม่ได้แสดงเจตนาไว้ หรือบุคคลที่แสดงเจตนาเสียชีวิตก่อนผู้แสดงเจตนา
หรือเสียชีวิตก่อนได้รับเงินช่วยพิเศษ ให้จ่ายบุคคลตามลำดับดังนี้
2.1 คู่สมรส
2.2 บุตร
2.3 บิดา- มารดา
หากปรากฏว่าบุคคลในลำดับก่อนมีชีวิตอยู่
บุคคลลำดับถัดไปไม่มีสิทธิได้รับเงินช่วยพิเศษ
และหากผู้มีสิทธิได้รับเงินช่วยพิเศษในลำดับเดียวกันมีหลายคนให้จ่ายเงินช่วยพิเศษให้แก่บุคคลในลำดับนั้นมอบหมายเป็นหนังสือ
หรือบุคคลที่เป็นผู้จัดการงานศพ เช่น ถ้าคู่สมรสเสียชีวิต
และมีบุตรหลายคน ให้บุตรนั้นมอบหมายเป็นหนังสือให้แก่บุตรคนใดคนหนึ่ง
การขอรับเงินช่วยพิเศษ
ต้องยื่นภายใน 1 ปี นับแต่วันที่ข้าราชการ ผู้รับบำนาญ หรือ ลูกจ้าง ถึงแก่ความตาย ตามแบบคำร้องขอรับเงินช่วยพิเศษที่กระทรวงการคลังกำหนด โดยยื่นต่อส่วนราชการต้นสังกัดพร้อมหลักฐาน
เช่น
ใบมรณะบัตร
ใบสำคัญการสมรส
ทะเบียนบ้าน บัตรประชาชน
ขอขอบคุณข้อมูล จากกรมบัญชีกลาง
http://www.dnp.go.th/dnpmoney/current/0406.5_%E0%B8%A7287.pdf
ข้าราชการบำนาญส่วนมากไม่ทราบเรื่องเงินช่วยพิเศษ ด้งนั้นส่วนราชการทุกส่วนควรจัดทำคู่มือข้าราชการบำนาญให้กับข้าราชการในสังกัดของตนจะดีมากๆครับ
ตอบลบ