วันอังคารที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

บำเหน็จค้ำประกัน



บำเหน็จค้ำประกัน
          จากที่ข้าพเจ้าเขียนบทความเกี่ยวกับเงินบำเหน็จบำนาญ ไปแล้ว 3 บทความมีคำถามเกี่ยวกับบำเหน็จค้ำประกัน  ว่าคืออะไร          มีหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติอย่างไร ในบทความนี้ ข้าพเจ้าจึงขอสรุปเกี่ยวกับบำเหน็จค้ำประกัน มาเล่าสู่กันฟัง
บำเหน็จค้ำประกัน
บำเหน็จค้ำประกัน เป็นโครงการกู้เงินกับสถาบันการเงินโดยนำสิทธิในบำเหน็จตกทอดไปเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันการกู้เงิน เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน และพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของผู้รับบำนาญ รวมทั้งช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในภาพรวมอีกทางหนึ่ง
          ผู้รับบำนาญสามารถนำสิทธิในบำเหน็จตกทอด ไปเป็นหลักทรัพย์ในการประกันการกู้เงินกับสถาบันการเงิน   ซึ่งตามกฎหมายกำหนดว่าจะจ่ายเงิน   บำเหน็จตกทอด จำนวน 30 เท่าของบำนาญรายเดือน ให้แก่ทายาทเมื่อผู้รับบำนาญเสียชีวิต (หักเงินบำเหน็จดำรงชีพที่ข้ผู้รับบำนาญเคยขอรับไปแล้ว) และเงินส่วนที่เหลืออีก 15 เท่า จะเป็นเงินบำเหน็จตกทอดที่เหลือไว้ให้กับทายาท  โดยวงเงินที่เหลือ 15 เท่านี้ ผู้รับบำนาญสามารถนำไปเป็นหลักทรัพย์เพื่อค้ำประกันการกู้เงินกับสถาบันการเงิน  (ธนาคารพาณิชย์) ซึ่งเรียกว่า บำเหน็จค้ำประกัน
ผู้รับบำนาญที่สนใจ
   ติดต่อส่วนราชการผู้เบิกบำนาญ  (นายทะเบียนผู้รับบำเหน็จบำนาญ)
   ตรวจสอบรายชื่อทายาทผู้มีสิทธิรับบำเหน็จตกทอด และหรือรายชื่อบุคคลที่ได้แสดงเจตนาให้รับบำเหน็จตกทอด

การยื่นคำร้อง  ผู้รับบำนาญที่ประสงค์จะขอรับหนังสือรับรอง กรอกคำร้องตามแบบที่กรมบัญชีกลางกำหนด แล้วยื่นต่อหน่วยงานต้นสังกัด
*กรณีที่ยื่นคำร้องแล้ว ไม่มีสิทธิยื่นขอบำเหน็จดำรงชีพ  เว้นแต่ได้ยกเลิกคำร้องฉบับดังกล่าว
*กรณีที่ได้รับหนังสือรับรองแล้ว ไม่สามารถยื่นคำร้องใหม่ ยกเว้นกรณีดังต่อไปนี้
 1.ฉบับเดิมสูญหาย ให้ยื่นคำร้องพร้อมแนบหลักฐานการแจ้งความ
 2.ฉบับเดิมชำรุด ให้ยื่นคำร้องพร้อมแนบหนังสือรับรองฉบับที่ชำรุด
 3.บำเหน็จตกทดที่จะใช้เป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันการกู้เงินมีจำนวนเพิ่มขึ้นหรือลดลง
 4.ผู้รับบำนาญขอยกเลิกการขอกู้เงินหรือสถาบันการเงินไม่อนุมัติการกู้เงินและ ไม่คืนหนังสือรับรอง

การรับคำร้อง  หน่วยงานต้นสังกัดจะตรวจสอบความถูกต้องและความครบถ้วนของข้อมูล
  • ในคำร้องของผู้รับบำนาญปกติ หรือผู้รับบำนาญพิเศษเพราะเหตุทุพพลภาพตาม พรบ. บำเหน็จบำนาญ ข้าราชการ พ.ศ.2494 และ พรบ.กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ.2539 ดังนี้
 1.มีทายาทผู้มีสิทธิได้รับบำเหน็จตกทอดตามกฏหมาย ว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ และได้แสดงเจตนาระบุตัวผู้รับบำเหน็จตกทอดไว้ต่อส่วนราชการต้นสังกัด
2.ไม่มีทายาทผู้มีสิทธิรับบำเหน็จตกทอดตามกฏหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ  แต่ได้แสดงเจตนาระบุตัวผู้รับบำเหน็จตกทอดไว้ต่อส่วนราชการต้นสังกัดตามแบบและวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนดแล้ว
3.ผู้รับบำนาญรับรองว่า ไม่มีกรณีที่ต้องทำประกันในการขอรับบำนาญตามที่กระทรวงการคลังกำหนด และไม่อยู่ในระหว่างถูกอายัดบำนาญตามคำพิพากษาหรือคำสั่งศาล
          *เมื่อตรวจหลักฐานเรียบร้อยหน่วยงานต้นสังกัดส่งข้อมูลผ่านระบบ
หลักฐานที่นำมาติดต่อหน่วยงานต้นสังกัด
*สำเนาทะเบียนบ้านของทายาททุกคน
*หลักฐานการเป็นบิดา มารดา คู่สมรส บุตร (บุตรบุญธรรม)
*หลักฐานการตายของ บิดา มารดา คู่สมรส บุตร (บุตรบุญธรรม)
*สำเนาการเปลี่ยนชื่อ นามสกุล
*สำเนาทะเบียนบ้านของบุคคลที่ ผู้รับบำนาญแสดงเจตนาไว้ในหนังสือแสดงเจตนา
นายทะเบียนผู้รับบำเหน็จบำนาญจะบันทึกข้อมูลทายาทผู้มีสิทธิรับ
บำเหน็จตกทอดลงในระบบบำเหน็จบำนาญ ให้สมบูรณ์
จากหลักฐานที่ ผู้รับบำนาญนำมาแสดง

การออกหนังสือรับรอง  เมื่อกรมบัญชีกลางหรือสำนักงานคลังจังหวัดได้รับข้อมูลผ่านระบบบำเหน็จค้ำประกันแล้ว จะตรวจสอบและพิจารณาออกหนังสือรับรองส่งให้ผู้รับบำนาญทางไปรษณีย์
      หนังสือรับรองสิทธิบำเหน็จตกทอดคงเหลือเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันการยื่นกู้เงิน กับสถาบันการเงินได้ไม่เกินจำนวนที่ระบุในหนังสือรับรอง
       สถาบันการเงินมีสิทธิเข้าดูข้อมูลของผู้รับบำนาญ  ในระบบบำเหน็จค้ำประกัน เพื่อประกอบการพิจารณาอนุมัติการกู้เงินสำหรับรายที่ยื่นหนังสือรับรอง
วงเงินที่เหลือประกันการกู้เงิน
     จำนวนเงินอย่างสูงที่ใช้เป็นหลักประกันการกู้เงิน ซึ่งมีจำนวนไม่เกินสิทธิในบำเหน็จตกทอดที่ได้หักบำเหน็จดำรงชีพออกแล้ว
      เมื่อผู้รับบำนาญนำบำเหน็จตกทอดไปค้ำประกันการกู้เงินแล้ว จะขอบำเหน็จดำรงชีพที่เหลืออีกไม่ได้จนกว่าการกู้เงินตามสัญญาจะสิ้นสุดลง
ตัวอย่างการคำนวณบำเหน็จตกทอดคงเหลือ
บำเหน็จดำรงชีพ
บำนาญ 10,000 บาท x 15 เท่า = 150,000 บาท
รับครั้งเดียว 150,000 บาท
บำเหน็จตกทอด
บำนาญ 10,000 บาท + ชคบ.3,915 บาท x 30 เท่า = 417,450 บาท
 หัก บำเหน็จดำรงชีพ 150,000 บาท
บำเหน็จตกทอดคงเหลือ 267,450 บาท
ตัวอย่างการคำนวณบำเหน็จตกทอดคงเหลือกรณีรับบำเหน็จดำรงชีพเมื่ออายุครบ 65 ปี
บำเหน็จดำรงชีพ
บำนาญ 30,000 บาท x 15 เท่า = 450,000 บาท
รับครั้งแรก    200,000 บาท
รับเมื่ออายุครบ 65 ปี  200,000 บาท
บำเหน็จตกทอด
บำนาญ 30,000 บาท + ชคบ.1,500 บาท  x 30 เท่า =  945,000 บาท
      หัก บำเหน็จดำรงชีพ 400,000 บาท  
บำเหน็จตกทอดคงเหลือจำนวน   545,000 บาท
     
การหักเงินบำนาญเพื่อชำระคืนเงินกู้ให้แก่สถาบันการเงิน กรมบัญชีกลางจะหักเงินบำนาญ    เพื่อชำระคืนเงินกู้ในแต่ละเดือน กรณีผู้รับบำนาญผิดสัญญากู้เงินหรือถึงแก่ความตาย กรมบัญชีกลางจะแจ้งการจ่ายเงินเพื่อชำระคืนเงินกู้ให้ส่วนราชการต้นสังกัดทราบผ่านระบบ โดยให้ส่วนราชการต้นสังกัดแจ้งผู้รับบำนาญหรือทายาททราบ




ขอบพระคุณข้อมูลดี ๆ จากกรมบัญชีกลาง
www.pws.cgd.go.th/cgd/
www.klang.cgd.go.th/aya/วิชาการ/Powerpoint%20download/บำเหน็จค้ำประกัน.ppt

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น