วันอังคารที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

ข้าราชการบำนาญเสียชีวิต



ข้าราชการบำนาญเสียชีวิต

บำเหน็จตกทอด
อยากทราบว่าเมื่อข้าราชการบำนาญเสียชีวิตจะได้รับเงินใดบ้างจากหน่วยงานต้นสังกัด
 





ข้าพเจ้า เป็นข้าราชการคนหนึ่งที่เคยปฏิบัติหน้าที่รับผิดชอบในเรื่องของการขอรับบำเหน็จบำนาญ  หลายคำถามที่หลายคนสงสัยว่าถ้าข้าราชการบำนาญเสียชีวิต จะได้รับเงินอะไรจากหน่วยงานของตนเองบ้าง
ก่อนอื่นข้าพเจ้าขอบอกให้ท่านผู้อ่านได้ทราบว่าหน่วยงานที่ข้าพเจ้าทำงานอยู่เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบการขอรับบำเหน็จบำนาญของข้าราชการครู  จึงอยากนำเนื้อหาของกรมบัญชีกลาง มาเขียนให้ท่านที่อยากทราบกรณีที่    ข้าราชการเสียชีวิตจะได้รับเงินอะไรบ้าง
1.    บำเหน็จตกทอด
2.    เงินช่วยพิเศษ 3 เดือน
3.    เงินเดือน และเงินค้างจ่าย (เงินตามสิทธิของผู้นั้นก่อนถึงแก่กรรม)

เงินบำเหน็จตกทอด คืออะไร
       บำเหน็จตกทอด คือ เงินที่ทางราชการจ่ายให้แก่ทายาทของข้าราชการที่เสียชีวิตระหว่างประจำการ หรือข้าราชการบำนาญที่เกษียณอายุข้าราชการแล้ว ประสบเหตุทุพพลภาพ หรือถึงแก่กรรม ซึ่งการตายนั้นมิได้เกิดจากการประพฤติชั่วร้ายแรงของตนเอง
1.    เหตุปกติ  เป็นโรค หรือเจ็บป่วย
2.    เหตุผิดปกติธรรมชาติ อุบัติเหตุกระทำ หรือถูกกระทำถึงแก่ความตาย
ก็มักจะมีคำถามต่อไปว่า กรณีฆ่าตัวตายจะได้รับบำเหน็จตกทอดหรือไม่          กรณีฆ่าตัวตายได้รับบำเหน็จตกทอดและเงินที่กล่าวแล้วข้างต้น


       ข้าราชการตาย
              บำเหน็จตกทอด  =  เงินเดือนเดือนสุดท้าย  คูณ  เวลาราชการ

       ข้าราชการบำนาญตาย
              30 เท่าของบำนาญ  บวก  เงิน ช.ค.บ.
              หัก  บำเหน็จดำรงชีพ  (ส่วนที่ขอรับไปแล้ว)
              หัก  บำเหน็จค้ำประกัน  (กรณีกู้บำเหน็จค้ำประกัน)

กรณีรับข้าราชการขอรับบำเหน็จไปแล้ว  ไม่มีสิทธิได้รับบำเหน็จตกทอด

การแบ่งจ่ายบำเหน็จตกทอด
จ่ายให้ทายาท  ดังนี้
·     บิดา มารดา         1  ส่วน
·     คู่สมรส              1  ส่วน
·     บุตร                  2  ส่วน (บุตร 3 คน ขึ้นไป 3 ส่วน)
กรณีไม่มีทายาท
ให้จ่ายแก่บุคคลซึ่งผู้ตายแสดงเจตนาไว้ต่อส่วนราชการเจ้าสังกัด
(ตามแบบและวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด)
และถ้ากรณีไม่มีทายาท ไม่ได้แสดงเจตนาไว้ เงินบำเหน็จตกทอดเป็นอันยุติ
บุคคลซึ่งผู้ตายแสดงเจตนา (ไม่ใช่บิดามารดา , คู่สมรส , บุตร )
จะได้รับเงินบำเหน็จตกทอด
 ในกรณีที่ทายาทตามที่กล่าวข้างต้นไม่มีแล้ว



บุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย หมายถึง
·     บุตรที่ บิดามารดาจดทะเบียนสมรสกัน
·     บุตรที่ บิดาจดทะเบียนรับรองบุตร
·     บุตรบุญธรรม
·     บุตรตามคำพิพากษาของศาล

หนังสือแสดงเจตนาระบุตัวผู้รับบำเหน็จตกทอด
(ไม่ใช่ทายาท  จะได้รับเงินบำเหน็จตกทอดกรณีไม่มีทายาท)
แบบหนังสือแสดงเจตนาระบุตัวผู้รับบำเหน็จตกทอด
·     ตามแบบและวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด
·     ระบุชื่อบุคคลธรรมดา  (ไม่จำกัดจำนวน)
·     ยื่นต่อเจ้าหน้าที่
·     เก็บหนังสือไว้ 1 ฉบับ   (การยื่นขอรับเงินใช้ฉบับจริงเท่านั้น)    

**  ใช้พินัยกรรมไม่ได้   ,  ใช้บันทึกมอบใด ๆ ไม่ได้  **



เอกสารยื่นเรื่องขอรับเงินบำเหน็จตกทอดนำมายื่นเรื่องที่หน่วยต้นสังกัด
1.   หลักฐานของข้าราชการผู้เสียชีวิต
·     สำเนามรณะบัตร
·     สำเนาทะเบียนบ้านที่ประทับตราว่าตายจากทะเบียนราษฎร์
2.   หลักฐานของบิดา มารดา ของข้าราชการผู้เสียชีวิต
·     สำเนาบัตรประชาชน หรือบัตรข้าราชการ
·     สำเนาทะเบียนสมรส ถ้าไม่มีให้ขอหนังสือรับรองจากทะเบียนราษฎร์
·     สำเนาหน้าบัญชีธนาคารประเภทออมทรัพย์ (ธนาคารใดก็ได้)

กรณีเป็นสามีภริยาก่อนวันที่ 1 ตุลาคม 2478 เป็นคู่สมรสกันได้โดยไม่ต้องจดทะเบียนสมรส
·     สำเนาทะเบียนบ้าน
·     สำเนามรณะบัตร (กรณีเสียชีวิตแล้ว)  ถ้าไม่มีให้ขอหนังสือรับรองการเสียชีวิตจากทะเบียนราษฎร์
·     สำเนาหน้าบัญชีธนาคารประเภทออมทรัพย์ (ธนาคารใดก็ได้)

3.    หลักฐานของคู่สมรส
·     สำเนาทะเบียนสมรส
·     สำเนาบัตรประชาชน หรือบัตรข้าราชการ
·     สำเนาทะเบียนบ้าน
·     สำเนาหน้าบัญชีธนาคารประเภทออมทรัพย์ (ธนาคารใดก็ได้)
*   สำเนามรณะบัตร  (กรณีเสียชีวิตแล้ว) 


4.   หลักฐานของบุตร
·     สำเนาทะเบียนสมรสของผู้เสียชีวิต
·     สำเนาทะเบียนบ้าน
·     สำเนาบัตรประชาชนหรือบัตรข้าราชการ
·     สำเนาทะเบียนสมรส (กรณีสมรสแล้ว)
·     สำเนาทะเบียนรับรองบุตร (กรณีรับรองบุตร)
·     สำเนาบุตรบุญธรรม (กรณีบุตรบุญธรรม)
·     สำเนาคำสั่งศาล (กรณีบุตรตามคำพิพากษา)
·     สำเนามรณะบัตร (กรณีบุตรเสียชีวิตก่อน)
·     สำเนาหน้าบัญชีธนาคารประเภทออมทรัพย์ (ธนาคารใดก็ได้)

5. หลักฐาน บุคคลซึ่งผู้ตายแสดงเจตนา 
(กรณี ไม่มีทายาทตามกฎหมาย : บิดา มารดา  คู่สมรส บุตร)
·     สำเนาทะเบียนบ้าน
·     สำเนาบัตรประชาชนหรือบัตรข้าราชการ
·     สำเนาทะเบียนสมรส (กรณีสมรสแล้ว)
·     สำเนาหน้าบัญชีธนาคารประเภทออมทรัพย์ (ธนาคารใดก็ได้)
 *  หนังสือแสดงเจตนาที่ผู้ตายแสดงเจตนาไว้  (ฉบับจริง)
แบบหนังสือแสดงเจตนาระบุตัวผู้รับบำเหน็จตกทอด
·     ตามแบบและวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด

 ที่มา  :  กรมบัญชีกลาง 
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง 


* พระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ.2494
.* พระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ.2539

9 ความคิดเห็น:

  1. ใช้เวลานานไหมครับกว่าจะได้รับเงิน

    ตอบลบ
  2. ถ้ามีชื่อในการรับสิทคนอื่นจะรับเงินแทนเราได้ไหมคัะ

    ตอบลบ
  3. เราสามารถเช็คได้ยังไงค่ะ

    ตอบลบ
  4. หลังจากกเษียนแล้ว สามารถเปลี่ยนแปลงผู้รับบำเหน็ดตกทอดหรือเพิ่่มรายชื่่อได้ไหม ต้องทำยังไง

    ตอบลบ
  5. นาวาโทโกมินทร์ เครือขวัญ
    ผู้เสียชีวิต

    ตอบลบ
  6. เงินเดือน หรือเงินค้างจ่าย(ของผู้ถึงแก่กรรม) คำนวนยังไงครับนับตั้งแต่เดือนที่ตายถึงเดือนไหนครับอยากทราบขอบคุณครับ

    ตอบลบ
  7. ราชการบำนาญตายบุตรจะทราบได้อย่างไร
    ว่าได้รับส่วนได้บ้างที่เป็นของบุตรเท่านั้น

    ตอบลบ
  8. ข้าราชการเสียชีวิตแล้ว อีกกี่เดือนถึงจะได้รับบำเหน็จตกทอดครับ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. พ่อผมเป็นข้าราชการรถไฟได้เสียชีวิตบําเหน็จตกทอดกี่วันถึงจะได้ครับผม

      ลบ